ลิงก์สมัครสมาชิก

แอล ซี วิต 3 เอกซ์ บำรุงจอประสาทตา ลดความเสี่ยงต้อกระจก

 


หนุ่มสาวออฟฟิศ แม่ค้าออนไลน์ หรือคนทั่วไปที่ใช้สมาทโฟน ใช้คอม

ทุกคนที่พูดถึงเลี่ยงไม่ได้เลยที่ใช้สายตาทั้งวันอยู่กับแสงสีฟ้าทั้งวัน

ล้ามั้ย จ้องจอมาทั้งวัน..

แสงสีฟ้า อันตรายที่มองไม่เห็น

อย่าลืมเติมสารอาหารดีๆ ให้ดวงตา

ด้วย ลูทีน ซีแซนทีน แอสตาแซนธิน สารสกัดจากบิลเบอร์รี่

ผสานวิตามินเอ และวิตามินอี

 

ประโยชน์จาก ลูทีน ซีแซนทีน

ช่วยกรองแสงสีฟ้าจากอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ต่างๆ ช่วยปกป้องเซลล์จอประสาทตาจากอนุมูลอิสระและแสงฟ้า

ลดความเสี่ยงและป้องกันการเกิดโรคต้อกระจก และโรคจอประสาทตาเสื่อมได้

 

ประโยชน์จากแอสตาแซนธิน

ช่วยทำให้มองภาพได้ชัดขึ้น ด้วยกลไกการปรับโฟกัสของเลนส์ตา

ช่วยลดความเมื่อยล้าของดวงตาจากการใช้งานคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ

ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังดวงตา ทำให้ดวงตามีสุขภาพที่ดีขึ้น

 

ประโยชน์จากสารสกัดจากบิลเบอร์รี่

ช่วยชะลอการขุ่นมัวของเลนส์ตา

ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของเส้นเลือดฝอยที่ไปเลี้ยงดวงตา

ช่วยเพิ่มการปรับตัวในการมองเห็นในที่มืด


เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับลูทีน ซีแซนทีน และวิตามิน เอ

ลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxannthin) เป็นสารธรรมชาติที่มีในพืชผักผลไม้หลายชนิด เป็นารในตระกูลของสารแคโรทีนอยด์ และพบได้ในบริเวณดวงตาตรงบริเวณเลนส์ตา และจอรับภาพของตา

 

ซึ่งในธรรมชาติแล้วแม้ว่าจะมี แคโรทีนอยด์มากกว่า 600 ชนิด แต่มีเพียงสาร ชนิดนี้เท่านั้นที่พบในจุดรับภาพของจอตา และสารทั้งสองชนิดนี้จะทำหน้าที่ช่วยกรอง หรือป้องกันรังสีจากแสงแดดที่เป็นอันตรายต่อดวงตา และช่วยปกป้องเซลล์ของจอประสาทตาไม่ให้ถูกทำลาย โดยการลดอนุมูลอิสระ ดังนั้นจึงทำหน้าที่บำรุงตา ทำให้จอตาไม่เสื่อมเร็ว พืชผักที่มีสารลูทีนและซีแซนทีนโดยมากมักจะเป็นผักผลไม้ที่มีสีเหลืองและสี เขียวเข้ม เช่น ข้าวโพด แครอท ฟักทอง ผักกาด ผักปวยเล้ง คะน้า ผักโขมฯ การบริโภคพืชผักที่มีลูทีนและซีแซนทีน หรือแม้แต่อาหารสุขภาพที่มีสารสำคัญนี้จะมีประโยชน์ในโรคหลายชนิดด้วยกัน ที่สำคัญคือ โรคต้อกระจก และโรคจุดรับภาพเสื่อม

โรคต้อกระจก

โรคต้อกระจก คือ ภาวะที่กระจกตา หรือเลนส์ตาขุ่น ทำให้แสงไม่สามารถผ่านเข้าไปในตาได้ ตามปกติ ต้อกระจกไม่ใช่โรคติดต่อ ต้อกระจกจะค่อยๆ ขุ่นไปอย่างช้าๆ ใช้เวลาเป็นปีๆ และสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด

 

โรคจุดรับภาพเสื่อม

โรคนี้เกิดจากการเสื่อมของจุดรับภาพ (Macular) วึ่งเป็นกลางจอตา (Retina) ทำให้การมองเห็นภาพเบลอบิดเบี้ยว บางครั้งอาจรุนแรงขนาดเห็นจุดดำมาบังภาพอยู่ตลอดเวลา

ลูทีนและซีแซนทีนกับโรคต้อกระจก

กลไกของลูทีนและซีแซนทีน สามารถลด ป้องกัน หรือชะลอการเกิดต้อกระจกได้นั้น เป็นเพราะลดกลไกการเกิดความเสื่อมของโรคต้อกระจกโดยตรง (อ้างอิงที่ 1) และการที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (อ้างอิงที่ 2, 3) เพราะอนุมูลอิสระเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดต้อกระจก (อ้างอิงที่ 4) มีการวิจัยในกลุ่มผู้สูงอายุต่างๆ พบว่ากลุ่มที่มีระดับของลูทีนและซีแซนทีนในกระแสเลือดสูง จะมีความขุ่นของเลนส์ตาน้อยกว่า ซึ่งเป็นการวิจัยของจักษุแพทย์ และผู้วิจัยสรุปว่า ลูทีนและซีแซนทีนน่าจะลดการเกิดความเสื่อมของเลนส์ตาในผู้สูงอายุได้จริง (อ้างอิงที่ 5) ยังมีการวิจัยว่าการรับประทานลูทีนในปริมาณสูง เพิ่มความสามารถในการมองเห็นของผู้ป่วยที่เป็นต้อกระจกไปแล้ว การวิจัยนี้เป็นการวิจัยที่มีการออกแบบแผนการวิจัยมาอย่างดี และทำการทดลองเป็นเวลาถึงสองปี (อ้างอิงที่ 6)

การวิจัยที่ Harvard School of Public Health, Boston ในผู้ชาย 36,644 คน ที่ได้รับอาหารเสริมและวิตามินต่างๆ พบว่ากลุ่มที่ได้รับอาหารเสริมเป็นลูทีนและซีแซนทีน จะลดความเสื่อมของโรคต้อกระจกถึง 19% (อ้างอิงที่ 7) และที่ University of Massachusetts ทำวิจัยในสุภาพสตรีถึง 50,461 คน พบว่า ลูทีนและซีแซนทีน จะลดความเสี่ยงของโรคต้อกระจกถึง 22% (อ้างอิงที่ 8) การวิจัยที่ University of Wisconsin Madison Medical School ในผู้สูงอายุ 43-48 ปี จำวน 1,354 คน พบว่าช่วยลดอุบัติการณ์ของต้อกระจกที่เกิดตรงกลางเลนส์ (Nuclear Cataracts) ได้ถึง 50% (อ้างอิงที่ 9) จากการวิจัยทั้งหมดนี้จึงเป็นที่ยอมรับว่าลูทีนและซีแซนทีนลดอุบัติการณ์โรค ต้อกระจกในผู้สูงอายุได้จริง

ลูทีนและซีแซนทีนกับโรคจุดรับภาพเสื่อม

นอกจากลูทีนและซีแซนทีนจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต้อกระจกแล้ว ยังพบว่ามีประโยชน์ต่อโรคจุดรับภาพเสื่อม ซึ่งมีหลายๆ การศึกษาสนับสนุนข้อมูลดังกล่าว โดยพบว่าถ้าปริมาณลูทีนและซีแซนทีนในลูกตาลดน้อยลง จะพบความเสื่อมมากขึ้นในการเป็นโรคจุดรับภาพเสื่อม (อ้างอิงที่ 10) และความเสี่ยงในการเป็นโรคจุดรับภาพเสื่อมจะลดลงหากมีปริมาณลูทีนและซีแซนที นในเลือดสูงขึ้น (อ้างอิงที่ 11, 12) แสดงให้เห็นว่าการบริโภคอาหารที่มีลูทีนและซีแซนทีนสามารถช่วยลดความเสี่ยง ในการเกิดโรคได้

วิตามิน เอ

วิตามิน เอ มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายประการ ที่สำคัญคือ ช่วยในการมองเห็น (อ้างอิงที่ 13) โดนำไปร่วมใช้ในการสร้างสารที่ใช้ในการมองเห็น หากขาดจะทำให้มองเห็นได้ยากในเวลากลางคืนหรือในที่แสงสว่างน้อย และทำให้เยื่อบุตาแห้ง กระจกตาเป็นแผล ในกรณีที่ร่างกายขาดวิตามิน เอ อย่างรุนแรงอาจทำให้ตาบอดได้


ประกอบด้วย ลูทีนมากถึง 
10 มก. เข้มข้นกว่าเดิมถึง เท่า เพิ่มประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้นด้วยแอสตาแซนธิน และสารสกัดจากบิลเบอร์รี่ ผสานวิตามินเอ และวิตามินอี

ส่วนประกอบที่สำคัญใน แคปซูล: 

  • ลูทีน  5%  200 มก. (ให้ลูทีน 10 มก.)
  • แอสตาแซนธิน 2.5%จากฮีมาโตคอกคัส พลูวิเอลิสสกัด     80 มก.(ให้แอสตาแซนธิน มก.)       
  • ซีแซนทีน  5%  63 มก. (ให้ซีแซนทีน 3.15 มก.)
  • สารสกัดจากบิลเบอร์รี่    10 มก.                     
  • ดีแอล-แอลฟา-โทโคเฟอริล แอซีเทต (50%)    6 มก. (ให้วิตามินอี หน่วยสากล)
  • วิตามิน เอ แอซีเทต  4.098 มก. (ให้วิตามิน เอ 1332 หน่วยสากล)

แสดงความคิดเห็น (0)
ใหม่กว่า เก่ากว่า